รวมนิทานเซนที่อ่านง่าย เข้าใจยาก (หรือเปล่า) แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบมาก และอยากให้ได้ลองอ่านและพิจารณาหรือคิดตามกันดูนะคะ
วันจันทร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2554
ต้นไผ่ และ น้ำชา
ที่มา : นันทมุนี: คิดอย่างเซน ; สำนักพิมพ์ไพลิน กรุงเทพมหานคร,2546.
ต้นไผ่ คือสิ่งที่อยู่คู่กับนิกายเซนมาเนินนานนับตั้งแต่เริ่ม อันเนื่องจากประเทศจีนและญี่ปุ่นนั้น มีต้นไผ่ค่อนข้างมากกว่าแถวประเทศอื่นๆ
เคยมีพระภิกษุผู้รู้ธรรมได้เปรียบเอาต้นไผ่ไว้อย่างน่าฟังว่า ต้นไผ่นี้เหมือนกับผู้มีความมั่นคงในด้านพุทธะ โดยได้พรรณาเอาไว้ดังนี้
ต้นไำผ่อ่อนพลิ้วตามสายลมก็จริงอยู่ แต่ต้นไม้นี้ก็มีความมั่นคง เหนียวแน่มากในแต่ละลำ ไม่ว่าจะเป็นไผ่ชนิดใด อย่างไรก็ตาม ต่างก็เหมือนกันหมด แต่เมื่อผ่าลำต้นของไผ่ออกแล้ว ปรากฏว่า ไม่มีความัตนอะไรในไผ่นั้นๆเลย กลับเป็นแต่เพียงข้อและปล้อง ช่วงกลางโล่ง
ดังนี้จึงขอกล่าวว่า ต้นไผ่เหมือนผู้ที่ถึงพุทธะ ที่อยู่อย่างสามัญธรรมดาได้ในทุกสถานการณ์
อีกทั้งยังมีความมั่นคงในธรรม ไม่บิดพลิ้ววกกลับไปหาหนทางอื่นที่จิืตใจตกต่ำลง ในความมั่นคงนี้ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอะไรเลยทั้งสิ้น เหมือนกับไผ่ที่ผ่าซีกแล้ว แต่มีความเป็นข้อและปล้องเท่านั้นเอง
ต้นไผ่ กับ เซน จึงเหมือนสิ่งที่อยู่คู่กันมา โดยการอนุมานขึ้นของพระเซน ส่วนเรื่องการดื่มชานั้น ถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของเซน ในทุกครั้งที่มีอาคันตุกะมาเยือน พระเซนมักจะนำน้ำชามาเสิร์ฟมากกว่าการนำกาแฟ หรือน้ำปานะอื่นๆมาใช้
น้ำชาเองก็เกิดจากความเรียบง่าย เพียงต้มน้ำใส่กา แล้วผสมใบชาลงไปเท่านั้น ก็จะกลายเป็นน้ำชา ด้วยความเรียบง่ายอย่างนี้เอง เซนจึงนิยมการดื่มชามากที่สุด
และเมื่อคราวใดที่การดื่มชานั้นได้นั่งใต้ต้นไผ่พร้อมกัน ก็ยิ่งเป็นการเพิ่มพูนศิลปะของการดื่มชามากขึ้น และอาจเป็นจังหวะของการได้พบพุทธะในใจ โดยไม่ทันรู้ตัว
ส่วนนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งเป็นเจ้าของบล็อคนะคะ ผิดถูกประการใด ขอน้อมรับไว้แต่เพียงผู้เดียวค่ะ
ผู้เขียนเองเป็นคนชอบดื่มชา มากกว่าการดื่มกาแฟ และจริงๆแล้ว แทบจะเรียกได้ว่า ไม่ดื่มกาแฟเลย แต่ในบางครั้งที่มีน้ำหนักตัวเกินกำหนด ผู้เขียนก็จะทำการลดน้ำหนักด้วยวิธีอันไม่ถูกต้องนัก คือการดื่มกาแฟดำ และทานไข่ต้ม เป็นอาหารหลัก
ดังนั้น ความทรงจำในการดิ่มกาแฟของผู้เขียน จึงค่อนข้างระทมขมขื่น เมื่อเปรียบเทียบกับการดื่มชา ซึ่งมักจะได้เลือกดิ่ม ในโอกาสที่ไม่มีการอดอาหารเพื่อลดน้ำหนัก ชาจึงเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของความสุขของผู้เขียน
ส่วนเรื่องของพุทธะ หรือภาวะจิตแห่งเซน เมื่อพิจารณาจากชานั้น ผู้เขียนเอง ยังห่างไกล และไม่เคยคิดถึงเลย แม้กระทั่งเวลาได้ดื่มชาอย่างมีความสุขในช่วงเวลาที่จิตใจสงบ ผู้เขียนก็มักจะดื่มด่ำกับความรุ้สึกของชา เพียงอย่างเดียว โดยเฉพาะ ชาไข่มุก ชาชัก ล้วนแต่เป็นของโปรดของผู้เขียนทั้งนั้น
และเมื่อกล่าวถึงต้นไผ่ ซึ่งเป็นต้นไม้ ที่ผู้เขียนเองรู้สึก และเคยมีความรู้สึกว่า น่ากลัว จำได้รางๆว่า เมื่อยังเด็ก ผู้เขียนเคยโดยหนามจากไม้ไผ่บาด และใบไผ่ ก็บาดนิ้ว และนอกจากนั้น คุณพ่อยังมีสระน้ำแห่งหนึ่ง ซึ่งสระที่อยู่ข้างเคียงกัน ดูรกร้าง และน่ากลัวมาก เพราะมีต้นไผ่ล้อมรอบ
ดังนั้น หากกล่าวถึง ต้นไผ่ และใบชา กับเซนนั้น ผู้เขียนเองคงไม่สามารถพิจารณาถึงภาวะแห่งจิตที่สงบ ใดๆได้ แต่หากพิจารณากันดีๆ โดยปราศจากความกลัวและความลุ่มหลงในรสชาติของชาแล้ว ผู้เขียนน่าจะคิด และพิจารณา ได้มากกว่านี้ แต่ตอนนี้ ต้องไปสงบจิตใจก่อนค่ะ ช่วงนี้มีหลายเหตุการณ์ ที่ทำให้ใจไม่สงบ และทำให้ห่างหายจากการรวบรวมจิตใจ มาเขียน และอ่าน รวมถึงพิจารณาถึงเซ็น อย่างจริงจัง
หากจิตสงบแล้ว แม้เพียงนั่งอยู่นิ่งๆ ก็อาจเข้าใจถึงอะไรหลายอย่าง ได้ลึกซึ้งมากกว่าเดิม
สวัสดีค่ะ
Labels:
ต้นไผ่และน้ำชา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)