User-agent: * Allow: / นิทานเซน Zentale

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

อนุรักษา...มหาทำลาย



ในประเทศญี่ปุ่นสมัยแรกๆ มีการใช้โคมไฟกันโดยทั่วๆไป โคมไฟดังกล่าวทำโครงด้วยไม่ไผ่และใช้กระดาษหุ้มไว้โดยรอบ ภายในจุดเที่ยน1เล่ม เพื่อส่องสว่าง และใช้เป็นตะเกียงในสมัยโบราณ

คืนวันหนึ่ง ชายตาบอดผู้หนึ่งได้ไปเยี่ยมเพื่อนของเขาคนหนึ่ง พอจะลากลับบ้าน เพื่อนก็ให้เขาถือโคมไฟกลับไปด้วย

"ฉันไม่ต้องการโคมไฟหรอก"เขากล่าวขึ้น "มืดหรือสว่างมันก็เหมือนๆกันแหละสำหรับฉัน"

"ฉันรู้ว่าเธอน่ะไม่ต้องการโคมไฟเอาไว้ส่องทาง" เพื่อนของเขาตอบ " แต่ถ้าไม่มีโคมไฟไปด้วย บางทีอาจจะมีใครบางคนวิ่งมาชนเธอเข้าก็ได้ ดังนั้นฉันคิดว่า เธอควรจะเอาโคมไฟไปด้วยนะ"



ชายตาบอดจึงออกเดินทางมาพร้อมกับโคมไฟดวงนั้น และไม่ทันที่เขาจะเดินไปได้ไกลสักเท่าไหร่เลย ก็มีคนวิ่งมาชนเขาเข้าอย่างจัง "จะเดินไปไหนมาไหนก็ระมัดระวังหน่อยซสิ" เขาพูดกับคนที่วิ่งมาชนเขาด้วยเสียงอันดัง "คุณมองไม่เห็นโคมไฟดวงนี้หรือ?"

" โึคมไฟของคุณพี่น่ะ เทียนมันดับไปแล้วล่ะพี่ชาย" ชายคนนั้นตอบสวนขึ้นมา





นิทานเรื่องนี้ ผู้เขียนบล็อคใช้หัวข้อมาจากหนังสือ อยู่อย่างเซน ตามที่ท่านผู้เขียนได้กล่าวไว้ในหัวข้อนั้น สำหรับความหมายของนิทานเรื่องนี้ อยากให้ทุกคนอ่าน แล้วลองพิจารณาดูเองว่า เกิดอะไรขึ้น แล้วเกี่ยวข้องกับการอนุรักษา มหาทำลายอย่างไร

ส่วนล่างต่อจากนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนบล็อค ถูกหรือผิด ยินดีน้อมรับค่ะ

จริงๆแล้วถ้าเป็นผู้เขียนเอง เพื่อนตาบอดมาเยี่ยมที่บ้าน คงไม่ปล่อยให้เดินกลับเองไม่ว่ากลางวันหรือกลางคืนหรอก แต่จะไปส่งเพื่อนด้วยตนเองจนกว่าเพื่อนตาบอดจะถึงบ้านโดยปลอดภัย เมื่ออ่านนิทานเรื่องนี้แล้ว เห็นว่า เพื่อนตาดีในเรื่องนี้ ที่เพื่อนตาบอดอุตส่าห์คิดถึงและเข้าไปเยี่ยมนั้น ค่อนข้างไม่ใช่เพื่อนที่ดีเลย

การปล่อยให้เพื่อนตาบอดเดินทางกลับบ้านคนเดียว ในกลางคืน พร้อมกับให้โคมไฟที่หุ้มด้านนอกด้วยกระดาษ ด้านในจุดเทียนหนึ่งเล่ม เพื่อป้องกันภัย ไม่ให้คนอื่นวิ่งมาชนเพื่อน โดยที่ตนเองก็คิดว่า ถ้าตนเองที่ตาดีถือ ก็จะสามารถป้องกันภัยได้นั้น ในกรณีที่เพื่อนตาบอด ก็คงจะเป็นเช่นนั้นด้วย



สุดท้ายเพื่อนตาบอดก็ยังโดนคนวิ่งมาชนอยู่ดี และเคราะห์ดี ที่เป็นคน ที่วิ่งมาชนเพื่อนตาบอด ไม่ใช่สัตว์ร้าย ที่อาจเป็นอันตรายต่อเพื่อนที่ตาบอดอยู่แล้วได้

และในกรณีนี้ การที่เทียนดับ ยังอาจจะเป็นผลดีกว่าเทียนที่ยังไหม้ไปเรื่อยๆอีก เพราะว่าหากเทียนยังคงจุดต่อเนื่องจนหมด เทียนอาจจะลามไหม้กระดาษที่หุ้มเทียนอยู่ และเมื่อไหม้แล้ว อาจจะลามไปที่เพื่อนตาบอดคนนั้น

พอโดนความร้อน เพื่อนตาบอดคนนั้นอาจจะต้องโยนไฟทิ้ง อาจกลายเป็นปัญหาลุกลามไป เกิดไฟไหม้ เพราะว่าเพื่อนตาบอดก็คงไม่รู้ว่า จะตามไปดับไฟอย่างไร

ของที่ดีกับเรา หรือของที่เราคิดว่าเราเคยใช้แล้วมันดี อาจจะไม่ได้ดีไปตลอดชั่วชีวิตเรา และอาจจะไม่ได้มีประโยชน์เลยต่อผู้อื่น ซ้ำร้าย ยังอาจะเป็นอันตรายต่อผู้อื่นอย่างมากด้วยก็ได้





ที่มา :ละเอียด ศิลาน้อย.อยู่อย่างเซน.พิมพ์ครั้งที่8:สำนักพิมพ์ดอกหญ้า2000,กรุงเทพมหานคร; 2544

หินยานและมหายาน



พุทธศาสนานิกายหินยาน หรือเถรวาท จะทำการนับถือคติและวินัยเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยดั้งเดิม โดยใช้ภาษาบาลีสวด หรือมคธ ในการสวดบริกรรมคาถา ยึดถือการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์เฉพาะปัจเจกบุคคลตามแนวทางขององค์พระพุทธเจ้า

ในประเทศไทย นับถือพุทธศาสนาแบบหินยาน หรือเถรวาท สืบเนื่องมาช้านาน อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่นับถือพุทธศาสนาแบบหินยานอีกประมาณ 5 ประเทศ คือ พม่า กัมพูชา ลาว ศรีลังกา และอินเดีย (หากรวมประเทศไทยด้วยเป็น 6 ประเทศ)

วัตรปฏิบัติของพระในสายหินยานไม่มีการแก้ไขดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น คงเดิมทั้งหมด ซึ่งภายหลังนิกายหินยานในประเทศก็แตกเป็น 2 นิกาย คือ ธรรมยุติ และมหานิกาย



มหานิกาย คือ การนับถือแบบหินยานเดิมทุกประการ อาทิ ฉันภัตตาหาร 2เวลา คือ เช้า เพล สวมรองเท้า จับเงินทองได้ ส่วนนิกายธรรมยุตกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเมื่อคราวพระจอมเกล้าเจ้าอยู๋หัวทรงผนวชอยู่นั้น ได้เห็นพระภิกษุหย่อนในธรรมวินัยจึงรวบรวมพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาอยู่รวมกัน โดยให้มีข้อวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด อาทิ ห้ามสวมรองเท้า ห้ามรับปัจจัย ฉันอาหารมื้อเดียว เป็นต้น

พระพุทธศาสนิการมหายาน ที่แยกตัวออกไปถือคติอาจริยวาท คือ เชื่อตามคำสอนของอาจารย์ สามารถประชุมแก้ไขพระวินัยตามกาลเทศะ เรียกว่า ลัทธิอาจริยวาท หรือ ลัทธิสังฆิกะ ถือการช่วยเหลือและปรัชญา โดยเฉพาะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ใช้ภาษาสันสกฤตในการสวดสังคายนาพระธรรมวินัย

นิกายมหายานนั้นก่อตัวเมื่อ400ปีเศษ และได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่่1 และแผ่ขยายไปถึง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ทิเบต



นิกายมหายานนี้ได้แบ่งออกไปได้อีกหลายลัทธิด้วยกัน ซึ่งพอที่จะเขียนตามลำดับได้ดังนี้

ลัทธิเซน คือลัทธิหลักของพระมหายานที่มีข้อวัตรคล้ายคลึงกับพระภิกษุฝ่ายหินยานมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีลัทธิวัชรยาน ลัทธิเต๋า ลัทธิบู๊ตึ๊งง้อไบ๊ เป็นต้น

ความรู้เกี่ยวเนื่องกับลัทธิเซนนี้สามารถนำมาน้อมปฏิบัติในประชาชนทั่วไปได้ แม้ว่าเราจะเป็นชาวพุทธที่แตกต่างในนิกายกับเขาก็ตาม แต่เราก็มีพระศาสดาองค์เดียวกัน และเซน อาจจะนิกายแรกของมหายานที่แตกออกมาจากหินยานที่อินเดีย

วิธีการสอนของเซนนั้นค่อนข้างจะตรงและชัดเจน สอนในลักษณะที่ให้คนมีความคิดในการแก้ไขและปรับปรุงตนเอง และสอนให้มีึความสำนึกในการกระทำ แบบที่เห็นตัวเองตามความเป็นจริง

เราไม่อาจให้นิยามของเซนได้ เพราะเซน ไม่เน้นนิยาม ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ทุกอย่างปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ต้องไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น การรู้สึกตัวทุกขณะระหว่างกระทำการใดๆ คือหลักการที่เซน เน้นให้ปฏิบัติ





ที่มา:นันทมุนี.คิดอย่างเซน.สำนักพิมพ์ไพลิน:กรุงเทพ,2546..

ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

กำเนิดมหายาน



บทความในบล็อคนี้นำมาจาก หนังสือ  คิดอย่างเซน เขียนโดยนันทมุนี ค่ะ

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาได้ 45 ปี ความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธก็เริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ

พระองค์เคยทรงตรัสไว้กับพระอานนท์ว่า หากเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วนั้น พระธรรมวินัยที่กล่าวจะเป็นศาสดาของภิกษุทั้งหลาย

พระธรรมวินัยนี้เกิดจากการกระทำของบรรดาภิกษุสาวกที่กระทำแล้วถูกตำหนิ ด้วยเหตุผลของความไม่เหมาะสมต่อศรัทธาผู้พบเห็น แล้วนำความมากราบทูลพระองค์ ทรงรับไว้พิจารณาแล้วเรียกรพะภิกษุสาวกมาว่ากล่าวบ้าง โดยมากจะตรัสกับพระอานนท์ เพราะในทางโลกมีศักดิ์เป็นอนุชาของพระองค์



ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสร็จดับขันธ์ไปเพียง 4 เดือน พระอริยสาวกของพระองค์ได้ทำการประชุมสังคายนาพระธรรมตามคำสั่งสอนโดยจัดให้เป็นระเบียบวินัย ที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ โดยมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีพระอานนท์เป็นผู้บอกกล่าวตามที่ได้ทรงจำมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า

พระมหากัสสปะเถระนี้ ท่านเป็นสุปฏิปันโนที่พระพุทธองค์ทรงมีความอนุเคราะห์ในธรรมมาก และยกย่องว่าเป็นเลิศทางด้านการปฏิบัติกรรมฐานในการอยู่ป่าโคนไม้เป็นวัตร

คราวหนึ่งที่ทรงตรัสเทศนาธรรมอยู่ในกาลนั้น พระพุทธองค์เทศนาไปได้ทอดพระเนตรเห็นท่านมหากัสสปะจึงทรงยกดอกบัวขึ้น 1 ดอก พระมหากัสสปะจึงเดินเข้าไปเฝ้าแล้วรับดอกบัวนั้น

พร้อมสังฆาฏิพาดพระอังสาของพระพุทธองค์ก็ทรงประทานให้พระมหากัสสปะ เนื่องจากของพระมหากัสสปะนั้นขาดมาก เกินกว่าที่จะนำมานุ่งห่มได้อีกต่อไป



สังฆาฏินี้ความจริงเหมือนกับจีวรอีกผืน เป็นผ้าสำรองไว้ึครองแทนจีวร หากว่าหายหรือว่าชำรุด หาใช่เป็นเครื่องประดับเพื่อความงดงามไม่ หลังจากสังคายนาเมื่อคราวนั้นเสร็จสิ้น พระภิกษุก็อยู่กันโดยระเบียบและพระธรรมวินัยตามดำรัสของพระพุทธองค์

หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ 10 ปี ได้มีพระภิกษุคณะหนึ่งที่เรียกว่า "วัชชีบุตร" แห่งเมืองเวสาลี ก็เห็นพ้องกันว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนัน้ทรงเคยตรัสเอาไว้ว่า ให้พระสาวกสามารถแก้ไขพระธรรมวินัยได้ตามกาละเทศะ

พระภิกษุคณะนี้จึงร่วมกันแก้ไขพระธรรมวินัยบางสิกขาบทบางประการขึ้น เช่น สามารถฉันภัตตาหารนอกเวลาเพลได้ หรือรับเงินสืบทอดจากอุบาสกอุบาสิกาได้ ในการแก้ไขครั้งนี้ มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงต้องเกิดการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่2 ขึ้น


ด้วยเหตุที่เมื่อคราวพระพุทธองค์ทรงตรัสอนุญาตให้แก้ไขนั้น ไม่ได้ทรงตรัสว่าแก้ไขบทใดบ้าง และพระอานนท์ก็ไม่ได้ถามด้วยว่าทรงอนุญาตให้แก้บทไหนบ้าง จึงเกิดความลุมเครือในการนี้ขึ้น

การประชุมสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ เมื่อเกิดความเห็นไม่พ้องกัน จึงแตกออกมาเป็น2ฝ่าย ทันใดนั้นเอง และนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 นิกายด้วยกัน


ที่มา:นันทมุนี.คิดอย่างเซน.สำนักพิมพ์ไพลิน:กรุงเทพ,2546..