User-agent: * Allow: / ญี่ปุ่นกับสังคมแบบสโตอิก

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ญี่ปุ่นกับสังคมแบบสโตอิก

ญี่ปุ่นกับสังคมแบบสโตอิก

ที่มาของบทความ : พิพัฒน์ สุยะ .ญี่ปุ่นกับสังคมแบบสโตอิก : หน้า 34-35 มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ 8-14 เมษายน พ.ศ.2554 ฉบับที่ 1599;สำนักพิมพ์มติชน ,กรุงเทพมหานคร.




เนื่องจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับสังคมญี่ปุ่นที่ผ่านมาค่อนข้างจะแสดงให้เห็นอะไรหลายอย่างได้ดี จึงขออนุญาตินำบทความจากหนังสือข้างต้น มาไว้อ่านเพื่อเรียน ถึงโครงสร้างหนึ่งที่น่าสนใจของสังคมญี่ปุ่น ในมุมมองของปรัชญาตะวันตก ไว้ ณ ที่นี้

นอกจากความโศกสลดที่ทั่วโลกมีต่อชาว ญี่ปุ่นจากเหตุการณ์ภัยพิบัติทั้งสาม ไม่ ว่าจะเป็นแผ่นดินไหว คลื่นยักษ์สึนามิและการ ระเบิดของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ยังมีความ มหัศจรรย์และน่าฉงนแทรกปนอยู่ท่ามกลาง ซากปรักหักพังและคราบน้ำตา อันนำมาซึ่ง เสียงชื่นชมและเป็นที่โจษจันกันไปทั่วสำหรับ ปฏิกิริยาที่ชาวญี่ปุ่นมีต่อภัยพิบัติทั้งสาม

หากเหตุการณ์เหล่านี้ไปเกิดขึ้นในที่อื่นๆ ของ โลก ภาพที่เราเห็นคงจะเป็นความวุ่นวาย โกลาหล มีการบุกปล้นชิงทรัพย์สิน การร้องให้คร่ำครวญ การกล่าวโทษการบริหาร จัดการของเจ้าหน้าที่และรัฐบาลเป็นแน่

แต่ภาพเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้นในญี่ปุ่น ตรงกันข้าม ผู้คนชาวญี่ปุ่นกลับเงียบสงบและ ให้ความช่วยเหลือพึ่งพาเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีวินัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งๆ ที่หากผู้ประสบภัยชาวญี่ปุ่นจะแสดงความ เสียใจคร่ำครวญหรือเกิดความสับสนวุ่นวาย ก็คงยากที่จะมีใครตำหนิได้




เหตุการณ์ต่างๆ ที่ทำให้ชาวโลกได้ประจักษ์ ถึงความเป็นญี่ปุ่นนั้นมีมากมาย และตรงกัน ข้ามกับภาพ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมตะวัน ตกเมื่อเร็วๆ นี้ไม่ว่าจะเป็นอเมริกาหรืออังกฤษ ที่เมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ภัยพิบัติแล้วก็ พบกับความชุลมุนวุ่นวาย มีการปล้นชิงทรัพย์สิน ยิ่งทำให้ชาวตะวันตกประหลาดใจใน พฤติกรรมของชาวญี่ปุ่นเป็นยิ่งนัก

และตัวอย่างอันน้อยนิดของเหตุการณ์ที่สื่อ ชาติตะวันตกอดชื่นชมชาวญี่ปุ่นไม่ได้ ก็นับตั้ง แต่ภาพของแถวที่ยาวเหยียดและเป็นระเบียบ ของชาวญี่ปุ่นที่ยืนรอรับอาหารโดยไม่มีเจ้าหน้าที่ คอยควบคุม หรือเข้าคิวรอซื้อของจากร้านค้า ที่ต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงกว่าจะได้ซื้อของ และต้องถูกจำกัดสิทธิในการซื้อ 


หรือเจ้าหน้าที่โรงแรมออกมาตักซุปร้อนๆ แจกผู้คนที่ ผ่านไปมา ทุกคนเช้าแถวอย่างเป็นระเบียบ เพื่อรับซุปคนละถ้วยและจากการสังเกตของ นักข่าวไม่พบว่าคนที่รับซุปไปแล้วจะวนกลับ มารับใหม่

หรือเหตุการณ์ที่หลายครอบครัวต้องมาพักอาศัยในโรงเรียน ทุกคนทุกครอบครัวจะแบ่งพื้นที่ให้เท่ากัน และระหว่างนั้นก็ไม่มีประชาชนคนใดจะมาว่าบ่นก่นด่าเจ้าหน้าที่หรือรัฐบาล ฯลฯ

ภาพต่างๆเหล่านี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยเท่านั้นที่สื่อตะวันตกนำมารายงานไปทั่วโลก




เหตุการณ์เช่นนี้เองที่นำมาซึ่งความประหลาดใจระคนอดชื่นชมชาวญี่ปุ่นไม่ได้ว่าสร้างสังคมและฝึกฝนผู้คนให้มีลักษณะเช่นนั้นได้อย่างไรแน่นอนว่า ชาวญี่ปุ่นไม่ใช่อิฐปูนที่ไร้ความรู้สึกหรือร่ำให้ในชะตากรรมของตน เพราะชาวญี่ปุ่นก็มีเลือดเนื้อเหมือนผู้คนชาติอื่นๆ

แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือการควบคุมตนเองของชาวญี่ปุ่นและการดำเนินไปของสังคมท่ามกลางปัญหานานัปการนั่นเอง
จากความฉงนสนเท่ห์ของผู้คนทั่วโลกที่มี ต่อชาวญี่ปุ่น ไม่เว้นแม้กระทั่งสื่อของตะวันตกทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อออนไลน์ได้ตี พิมพ์บทความพยายามทำความเข้าใจ เหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมาก

และส่วนของ ตะวันตกส่วนใหญ่เมื่ออธิบายถึงเหตุการณ์นี้ ก็มักจะเรียกสังคมญี่ปุ่นว่าเป็น "สังคมแบบสโตอิก(Stoic society) หรือ ลัทธิสโตอิกแบบญี่ปุ่น (Japanese stoicism)

สังคมแบบสโตอิกนั้นเป็นคำที่สื่อตะวันตกใช้ อธิบายปรากฏการณ์ของการเผชิญหน้ากับภัย พิบัติของชาวญี่ปุ่น

สังคมแบบสโตอิกนั้นเป็นอย่างไร ก่อนอื่นเราคงต้องทำความรู้จักกับคำว่า สโตอิกกันก่อน




สโตอิก หรือ สโตอิกซิสม(Stoicism) นั้นเป็นสำนักปรัชญาในสมัยกรีก และต่อเนื่องมาจนถึงสมัยโรมัน ซึงมีนัก ปรัชญาที่ยึดถือแนวคิดนั้นจำนวนมาก แต่นัก ปรัชญาคนสำคัญๆ ได้แก่ เซโนแห่งซิติอุม (Zeno of Citium) เอพิกเตตัส (Epictatus) และมาเคุส ออเรลีอุส (Marcus Aurelius)

รากฐานความคิดทางปรัชญาของสโตอิกก็คือ สสารนิยม (materialism) คือเชื่อว่าสสาร เท่านั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง แม้กระทั่งวิญญาณ และพระเจ้าก็เป็นสสารเช่นกัน และสสารที่เป็นปฐมธาตุหรือเป็นหลักการพื้นฐานของ จักรวาลก็คือ ไฟ หรือ ปฐมอัคคี ซึ่งความคิดตรงนั้น สโตอิกได้รับอิทธิพลจากเฮราไคลตัส (Heraclitus)

สโตอิกเชื่อว่าพระเจ้าก็คือไฟ พระเจ้ามีความสัมพันธ์กับโลกทำนองเดียวกับที่วิญญาณสัมพันธ์กับร่างกาย ดังนั้น วิญญาณมนุษย์จึงเป็นไฟที่แทรกซึมอยู่ทั่วร่างกาย พระเจ้าก็เช่นกันที่เป็นปฐมอัคคีปรากฏอยู่ทั่วไปในโลก พระเจ้าทรงเป็นปัญญาอันสมบูรณ์ และพระองค์ทรงคือเหตุผล โลกจึงถูกควบคุมด้วยเหตุผล

นั่นหมายความว่าจักรวาลและโลกถูกควบคุมด้วยกฎแห่งความจำเป็นของความเป็นเหตุผลมนุษย์จำต้องดำเนินไปตามกฎแห่งความจำเป็นของความเป็นเหตุผล มนุษย์จึงไม่มีเจตจำนงเสรี (Free Will) และ สโตอิกยังมองว่า โดยเนื้อแท้แล้วมนุษย์ก็คือเหตุผล





ความคิดทางจริยศาสตร์ของพวกสโตอิกจึงอยู่บนฐานความคิดดังกล่าวนี้คือ จักรวาลมีกฎควบคุมตายตัวหรือนิยัตินิยม (Determinism)  และแก่นแท้ของมนุษย์คือเหตุผล

ทั้งสองความคิดนี้สรุปรวมเป็นหลักการของสโตอิกได้ว่า "มีชีวิตอยู่ตามธรรมชาติ" (Live According to Nature)
สโตอิกเชื่อว่ากฎเกณฑ์ของธรรมชาตินี้ มนุษย์สามารถเข้าใจได้ด้วยเหตุผล เมื่อมนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การกระทำของมนุษย์ก็จึงต้องสอดคล้องกับธรรมชาติและในธรรมชาตินั้น สรรพสิ่งจะดำเนินไปตามวิถีทางของมัน เป็นไปตามกฎเกณฑ์ตายตัวไม่สามารถเกิดเป็นอย่างอื่นไปได้

คุณธรรมสำหรับ สโตอิกจึงหมายถึงการดำเนินชีวิตตามเหตุผล มนุษย์ไม่ควรใช้ชีวิตด้วยอารมณ์ เพราะอารมณ์ของมนุษย์นั้นไม่เป็นเหตุผลและจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกำจัดความรู้สึกหรืออารมณ์ออกไปให้หมด


ถ้ามนุษย์ยึดมั่นในเหตุผลก็จะเข้าใจพฤติกรรมมนุษย์อันเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ธรรมชาติ ซึ่งเมื่อเราเข้าใจ  เราก็จะวางเฉยได้ การวางเฉยหรือความสงบของจิตใจจึงเป็นสิ่งที่พวกสโตอิกเฝ้าปรารถนา




เพราะความสงบมิได้เกิดจากการได้รับการตอบสนองความต้องการ แต่เกิดจากการระงับความต้องการนั้น และเราจะสามารถระงับความต้องการต่างๆ ได้ก็ด้วยเหตุผล สโตอิกเห็นว่ามนุษย์ควรเอาชนะตัวเองหากเราทำได้ เราก็จะพบกับความสงบสุขอย่างแท้จริง 


เพราะสิ่งทั้งหลายในโลกนั้น แบ่งออกได้อยู่สองประเภทคือ สิ่งที่เราควบคุมมันได้ กับสิ่งที่เราควบคุมมันไม่ได้


สิ่งที่เราควบคุมได้ก็ได้แก่ ความคิด ความรู้สึก ความอยากที่จะได้และอยากที่จะหนี

ส่วนสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้หรือพ้นไปจากอำนาจของเราก็มี ร่างกาย ทรัพย์สิน ชื่อเสียง เกียรติยศ

ถ้ามนุษย์มัวแต่หลงยึดในสิงทีเราไม่สามารถควบคุมได้ ชีวิตก็จะมีแต่ความผิดหวัง ถ้าเราปล่อยวางได้ก็จะพบแต่ความสงบสุข





นักปรัชญากลุ่มสโตอิกคิดว่ามนุษย์ควร จะฝึกฝนคุณธรรมสามประการ คือ ความอดทน ความอดกลั้นและความยุติธรรม พวกเขาอธิบายว่าความอดทนจะช่วยเมื่อเรา พบความเจ็บปวดหรือความขัดแย้ง

ส่วนความอดกลั้นจะช่วยเราเมื่อพบสิ่งเย้ายวนใจและความยุติธรรมช่วยเราเมื่ออยู่ร่วมกับผู้อื่น

คนดีสำหรับ สโตอิกจึงเป็นคนที่มีคุณธรรม สามประการนี้ เพราะคุณธรรมทั้งสามนี้จะทำให้มนุษย์สามารถควบคุมตนเองได้และมีเมตตาต่อผู้อื่น

สโตอิกเน้นย้ำให้มนุษย์ยืดถือความสงบ แต่ก็มิได้แนะนำให้มนุษย์หลีกหนีจากสังคม แต่ สอนให้มนุษย์ยอมรับและคล้อยตามกฎ เกณฑ์และระเบียบประเพณีของสังคมและดำรงชีวิตอย่างมีคุณธรรมช่วยเหลือผู้อื่นตามความสามารถของตน

และกล่าวว่าทุกสิ่ง ทุกอย่างอยู่ที่ความคิดของมนุษย์ ความสุข ความทุกข์นั้นเกิดจากความคิดของมนุษย์เป็นผู้กำหนด

เหตุการณ์หรือสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอก ตัวเราหรือเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้นั้นก็จะไม่สามารถทำอะไรเราได้ เพราะความ สุขความทุกข์เกิดจากความคิดเราเป็นผู้กำหนด 

ดังนั้น เมื่อมีสิ่งใดเป็นอุปสรรคหรือมารบกวนความรู้สึกของเรา ก็ไม่ควรกล่าวโทษผู้อื่น แต่ ต้องตำหนิตนเอง




สโตอิกมองว่า หากเกิดอะไรขึ้นแล้วเรากล่าว โทษผู้อื่นนั้นแสดงว่าเราไม่รู้จริง

แต่หากตำหนิตนเองนั่นแสดงว่าเราเริ่มเรียน รู้แล้ว แต่ยิ่งกว่านั้นหากเกิดอะไรขึ้นแล้ว ถ้าเราไม่กล่าวโทษผู้อื่นไม่ตำหนิตัวเอง แต่ยอมรับสิงที่เกิดขึ้นโดยสงบ สโตอิกกล่าวว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นการรู้แจ้งแล้ว

จะเห็นได้ว่าแม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก และยุคสมัย แต่วิถีปฏิบัติของสโตอิกนั้นก็มี ความคล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ของสังคม ญี่ปุ่นพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางเฉย หรือนิ่งสงบ การช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น

แต่ผู้เขียนเห็นว่า สิ่งหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ เรารู้จักวางเฉยได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด แบบสโตอิกหรือจารีตแบบญี่ปุ่น นั่นก็คือ ความมีเหตุผล ท่ามกลางการพังทลายลง ของสิ่งปลูกสร้างทางกายภาพ แต่จารีตและ วิถีแบบญี่ปุ่นมีแต่จะเข้มแข็งขึ้น ก็ด้วยความ มีเหตุผลนี้เอง

จากความคิดแบบสโตอิกที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งมีที่มาจากปรัชญากรีก อันเป็นรากเหง้าสำคัญอันหนึ่งของอารยธรรมตะวันตก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใดที่สื่อทั้งออนไลน์และออฟไลน์ของตะวันตกจะเรียกขาน สังคมญี่ปุ่นว่าเป็นสังคมแบบสโตอิก

แน่นอนว่าตัวสังคมญี่ปุ่นเองไม่น่าจะได้รับ อิทธิพลทางความคิดจากปรัชญาของสโตอิก

แต่ชาติตะวันตกสามารถเข้าใจรูปแบบของ สังคมเช่นนี้ได้ผ่านความคิดของสโตอิกนั่นเอง ทั้งที่จริงแล้วโลกทัศน์แบบญี่ปุ่นนั้นคงมี รากฐานมาจากหลายแหล่ง ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมของญี่ปุ่นเอง พุทธศาสนานิกายเซน ศาสนาชินโตหรือแม้กระทั่งศาสนาคริสต์





การที่จะอธิบายถึงอิทธิพลต่างๆ ที่มีผลต่อ โลกทัศน์ของชาวญี่ปุ่นอันเป็นฐานที่มาของของ ระบบจริยศาสตร์หรือหลักการดำเนินชีวิตนั้นคง ไม่ใช่เรื่องง่ายนัก คงต้องใช้สหวิทยาการเข้ามา ร่วมศึกษา

ดังตัวอย่างหนึ่งจากการศึกษาของนักมานุษยวิทยาชาวอเมริกันคนหนึ่งพบว่า 


ชาวญี่ปุ่นมีแม้กระทั่งคำที่ใช้สำหรับเรียก "การยอมทนรับสถานการณ์ที่ยากลำบากอย่างเงียบสงบ" โดยเฉพาะในภาษาของตน ฉะนั้นลำพังปรัชญา หรือศาสตร์สาขาใดสาขาหนึ่งคงไม่เพียงพอที่ จะศึกษาความคิดความเชื่อของชาวญี่ปุ่นได้

สังคมแบบสโตอิก หรือสโตอิกแบบญี่ปุ่นที่ เน้นการนิ่งสงบ ความมีระเบียบวินัย ความ ทรหดอดทน ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจ เดียวกันนั้น อาจมีข้อบกพร่องหรือนำไปสู่ปัญหาต่างๆ ได้

แต่ท่ามกลางปัญหาวิกฤตเฉพาะหน้าหรือเป็น ภัยพิบัติร้ายแรง สังคมแบบสโตอิกอาจเป็น ทางออกอย่างเร่งด่วนแก่สังคมได้
เช่นเดียวกับวิกฤตปัญหาทางการเมืองและสังคมไทยในปัจจุบันที่บางที เราอาจจำต้องหยุดกล่าวโทษกันและกัน แล้วหัดเรียนรู้แนวคิดแบบสโตอิก อย่างจริงจังเสียที