รวมนิทานเซนที่อ่านง่าย เข้าใจยาก (หรือเปล่า) แต่โดยส่วนตัวแล้วชอบมาก และอยากให้ได้ลองอ่านและพิจารณาหรือคิดตามกันดูนะคะ
วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553
หินยานและมหายาน
พุทธศาสนานิกายหินยาน หรือเถรวาท จะทำการนับถือคติและวินัยเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยดั้งเดิม โดยใช้ภาษาบาลีสวด หรือมคธ ในการสวดบริกรรมคาถา ยึดถือการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้นจากความทุกข์เฉพาะปัจเจกบุคคลตามแนวทางขององค์พระพุทธเจ้า
ในประเทศไทย นับถือพุทธศาสนาแบบหินยาน หรือเถรวาท สืบเนื่องมาช้านาน อีกทั้งประเทศเพื่อนบ้านอีกจำนวนหนึ่งที่นับถือพุทธศาสนาแบบหินยานอีกประมาณ 5 ประเทศ คือ พม่า กัมพูชา ลาว ศรีลังกา และอินเดีย (หากรวมประเทศไทยด้วยเป็น 6 ประเทศ)
วัตรปฏิบัติของพระในสายหินยานไม่มีการแก้ไขดัดแปลงใดๆทั้งสิ้น คงเดิมทั้งหมด ซึ่งภายหลังนิกายหินยานในประเทศก็แตกเป็น 2 นิกาย คือ ธรรมยุติ และมหานิกาย
มหานิกาย คือ การนับถือแบบหินยานเดิมทุกประการ อาทิ ฉันภัตตาหาร 2เวลา คือ เช้า เพล สวมรองเท้า จับเงินทองได้ ส่วนนิกายธรรมยุตกำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 โดยเมื่อคราวพระจอมเกล้าเจ้าอยู๋หัวทรงผนวชอยู่นั้น ได้เห็นพระภิกษุหย่อนในธรรมวินัยจึงรวบรวมพระภิกษุที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาอยู่รวมกัน โดยให้มีข้อวัตรปฏิบัติที่เข้มงวด อาทิ ห้ามสวมรองเท้า ห้ามรับปัจจัย ฉันอาหารมื้อเดียว เป็นต้น
พระพุทธศาสนิการมหายาน ที่แยกตัวออกไปถือคติอาจริยวาท คือ เชื่อตามคำสอนของอาจารย์ สามารถประชุมแก้ไขพระวินัยตามกาลเทศะ เรียกว่า ลัทธิอาจริยวาท หรือ ลัทธิสังฆิกะ ถือการช่วยเหลือและปรัชญา โดยเฉพาะช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ ใช้ภาษาสันสกฤตในการสวดสังคายนาพระธรรมวินัย
นิกายมหายานนั้นก่อตัวเมื่อ400ปีเศษ และได้รับการอุปถัมภ์จากพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะ ประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่่1 และแผ่ขยายไปถึง จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ทิเบต
นิกายมหายานนี้ได้แบ่งออกไปได้อีกหลายลัทธิด้วยกัน ซึ่งพอที่จะเขียนตามลำดับได้ดังนี้
ลัทธิเซน คือลัทธิหลักของพระมหายานที่มีข้อวัตรคล้ายคลึงกับพระภิกษุฝ่ายหินยานมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีลัทธิวัชรยาน ลัทธิเต๋า ลัทธิบู๊ตึ๊งง้อไบ๊ เป็นต้น
ความรู้เกี่ยวเนื่องกับลัทธิเซนนี้สามารถนำมาน้อมปฏิบัติในประชาชนทั่วไปได้ แม้ว่าเราจะเป็นชาวพุทธที่แตกต่างในนิกายกับเขาก็ตาม แต่เราก็มีพระศาสดาองค์เดียวกัน และเซน อาจจะนิกายแรกของมหายานที่แตกออกมาจากหินยานที่อินเดีย
วิธีการสอนของเซนนั้นค่อนข้างจะตรงและชัดเจน สอนในลักษณะที่ให้คนมีความคิดในการแก้ไขและปรับปรุงตนเอง และสอนให้มีึความสำนึกในการกระทำ แบบที่เห็นตัวเองตามความเป็นจริง
เราไม่อาจให้นิยามของเซนได้ เพราะเซน ไม่เน้นนิยาม ไม่มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอน ทุกอย่างปล่อยไปตามธรรมชาติ แต่ต้องไม่ทำความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น การรู้สึกตัวทุกขณะระหว่างกระทำการใดๆ คือหลักการที่เซน เน้นให้ปฏิบัติ
ที่มา:นันทมุนี.คิดอย่างเซน.สำนักพิมพ์ไพลิน:กรุงเทพ,2546..
ต้องขอขอบคุณไว้ ณ ที่นี้ด้วยค่ะ
Labels:
หินยานและมหายาน