User-agent: * Allow: / นิทานเซน Zentale

วันอาทิตย์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2553

น้ำชาล้นถ้วย

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง น้ำชาล้นถ้ว



  
เรื่องที่หนึ่ง ซึ่งไม่อยากจะเว้นเสีย ทั้งที่ เคยเอ่ยถึงแล้ว วันก่อน คือ เรื่อง น้ำชาล้นถ้วย 
เรื่องมีอยู่ว่า อาจารย์ แห่งนิกายเซ็น ชื่อ น่ำอิน เป็น ผู้มีชื่อเสียง ทั่วประเทศ และ โปรเฟสเซอร์ คนหนึ่ง  เป็น โปรเฟสเซอร์ที่มีชื่อเสียงทั่วประเทศ ไปหาอาจารย์น่ำอิน เพื่อขอศึกษาพระพุทธศาสนาอย่างเซ็น 




ในการต้อนรับ ท่านอาจารย์ น่ำอิน ได้รินน้ำชา ลงในถ้วย รินจนล้นแล้วล้นอีก โปรเฟสเซอร์ มองดูด้วยความฉงน ทนดูไม่ได้ ก็พูดโพล่งออกไปว่า "ท่านจะใส่มัน ลงไปได้อย่างไร" ประโยคนี้ มันก็แสดงว่า โมโห ท่านอาจารย์ น่ำอิน จึงตอบว่า" ถึงท่านก็เหมือนกัน อาตมาจะใส่อะไร ลงไปได้อย่างไร เพราะท่านเต็มอยู่ด้วย opinions และ speculations ของท่านเอง" คือว่า เต็มไปด้วยความคิด ความเห็นตามความ ยึดมั่นถือมั่น ของท่านเอง และมีวิธีคิดนึก คำนวณ ตามแบบ ของท่านเอง สองอย่างนี้แหละ มันทำให้เข้าใจ พุทธศาสนาอย่างเซ็น ไม่ได้ เรียกว่า ถ้วยชามันล้น




ท่านครูบาอาจารย์ทั้งหลาย จะเตือนสติเด็กของเราให้รู้สึกนึกคิด เรื่องอะไรล้น อะไรไม่ล้น ได้อย่างไร ขอให้ช่วยกันหาหนทาง ในครั้งโบราณในอรรถกถได้เคยกระแหนะกระแหน ถึงพวกพราหมณ์ที่เป็นทิศาปาโมกข์ต้องเอาเหล็กมาตี เป็นเข็มขัดคาดท้องไว้ เนื่องด้วยกลัวท้องจะแตกเพราะวิชาล้น 


นี้จะเป็นเรื่องที่มีความหมายอย่างไร ก็ลองคิดดู พวกเราอาจล้นหรืออัดอยู่ด้วยวิชาทำนองนั้น จนอะไรใส่ ลงไปอีกไม่ได้ หรือความล้นนั้นมันออกมาอาละวาดเอาบุคคลอื่นอยู่บ่อยๆบ้างกระมัง แต่เราคิดดูก็จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ล้นนั้นคงจะป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้ 






จะจริงหรือไม่ ก็ลองคิด ส่วนใดที่เป็นส่วนที่ล้นก็คงเป็นส่วนที่ใช้ไม่ได้ ส่วนที่ร่างกายรับเอาไว้ได้ก็คงเป็น ส่วนที่มีประโยชน์ ฉะนั้น จริยธรรมแท้ๆไม่มีวันจะล้น โปรดนึกดูว่าจริยธรรม หรือ ธรรมะแท้ๆนั้นมีอาการล้นได้ไหม ถ้าล้นไม่ได้ ก็หมายความว่า สิ่งที่ล้นนั้นมันก็ไม่ใช่จริยธรรมไม่ใช่ธรรมะล้นออกไปเสียให้หมด ก็ดีเหมือนกัน หรือ ถ้าจะพูดอย่างลึก เป็นธรรมะลึก ก็ว่า จิตแท้ๆไม่มีวันล้น อ้ายที่ล้นนั้น มันเป็นของปรุงแต่งจิต ไม่ใช่ตัวจิตแท้ มันล้นได้มากมาย แต่ถึงกระนั้นเราก็ยังไม่รู้ว่า จิตแท้คืออะไร อะไรควรเป็นจิตแท้ และอะไรเป็นสิ่ง ที่ไม่ใช่จิตแท้ คือ เป็นเพียง ความคิดปรุงแต่ง ซึ่งจะล้นไหลไปเรื่อย นี่แหละ รีบค้นหาให้พบ สิ่งที่เรียกว่า จิตจริงๆ กันเสียสักที ก็ดูเหมือนจะดี




ในที่สุด ท่านจะพบตัวธรรมะอย่างสูง ที่ควรแก่นามที่จะเรียกว่า จิตแท้ หรือ จิตเดิมแท้ ซึ่งข้อนั้น ได้แก่ ภาวะแห่งความว่าง จิตที่ประกอบด้วย สภาวะแห่งความว่างจาก "ตัวกู-ของกู" นั้นแหละ คือ จิตแท้ 


ถ้าว่างแล้ว มันจะเอาอะไรล้น นี่เพราะเนื่องจากไม่รู้จักว่า อะไรเป็นอะไร จึงบ่นกันแต่เรื่องล้น การศึกษาก็ถูกบ่นว่า ล้น และที่ร้ายกาจที่สุด ก็คือ ที่พูดว่า ศาสนานี้ เป็นส่วนที่ล้น จริยธรรมเป็นส่วนล้น คือส่วนที่เกิน คือ เกินต้องการ ไม่ต้องเอามาใส่ใจ ไม่ต้องเอามาสนใจ เขาคิดว่า เขาไม่ต้อง เกี่ยวกับศาสนา หรือธรรมะเลย เขาก็เกิดมาได้ พ่อแม่ก็มีเงินให้ เขาใช้ให้เขาเล่าเรียน เรียนเสร็จแล้ว ก็ทำราชการ เป็นใหญ่เป็นโต ได้โดยไม่ต้อง มีความเกี่ยวข้อง กับศาสนาเลย ฉะนั้น เขาเขี่ยศาสนา หรือ ธรรมะ ออกไปในฐานะ เป็นส่วนล้น คือ ไม่จำเป็น 






นี่แหละ เขาจัดส่วนล้น ให้แก่ศาสนาอย่างนี้ คนชนิดนี้ จะต้องอยู่ ในลักษณะที่ ล้นเหมือน โปรเฟสเซอร์คนนั้น ที่อาจารย์น่ำอิน จะต้อง รินน้ำชาใส่หน้า หรือ ว่ารินน้ำชาให้ดู โดยทำนองนี้ทั้งนั้น เขามีความเข้าใจผิดล้น ความเข้าใจถูกนั้นยังไม่เต็ม มันล้นออกมา ให้เห็น เป็นรูปของ มิจฉาทิฎฐิ เพราะเขาเห็นว่า เขามีอะไรๆ ของเขาเต็มเปี่ยมแล้ว ส่วนที่เป็นธรรมะ เป็นจริยธรรมนี่ เข้าไม่จุ อีกต่อไป ขอจงคิดดูให้ดีเถอะว่า นี้แหละ คือ มูลเหตุที่ทำให้จริยธรรม รวนเร และ พังทลาย ถ้าเรามีหน้าที่ ที่จะต้องผดุงส่วนนี้แล้ว จะต้องสนใจเรื่องนี้


ถ้าจะรักก็จงรักอย่างเปิดเผย

นิทานเซ็น เล่าโดย .. ท่านพุทธทาสภิกขุ เรื่อง ถ้าจะรักก็จงรักอย่างเปิดเผย



"If love, love openly" ถ้าจะรัก ก็จงรักอย่างเปิดเผย. ในวัดนิกาย เซ็น อีกเหมือนกัน มีภิกษุ อยู่หลายสิบรูป และมี นักบวชผู้หญิง ที่เรียกว่า nun อยู่คนหนึ่ง ชื่อ เอฉุ่น รวมอยู่ด้วย เอฉุ่น เป็นหญิง ที่สวยมาก แม้จะเอาผมออกเสียแล้ว แม้จะใช้ เครื่องนุ่งห่ม ของนักบวช ที่ปอนมาก ก็ยังสวยอย่างยิ่งอยู่นั่นเอง


 และความสวยนั้นก็ได้สร้างความวุ่นวายให้แก่ภิกษุทั้งหมดนั้นมาก แทบว่า จะไม่มีจิตใจที่จะสงบได้ ภิกษุองค์หนึ่งทนอยู่ไม่ได้ ก็เขียนจดหมาย ส่งไปถึง ขอร้อง ที่จะมีการพบ อย่าง private คือเป็นการขอพบ เฉพาะตัว เอฉุ่น ก็ไม่ตอบจดหมายนั้น อย่างไร แต่พอวันรุ่งขึ้นกำลังประชุมอบรมสั่งสอนกันอยู่ ซึ่งมีชาวบ้านจำนวนมากรวมอยู่ด้วย พอสั่งสอนจบลงเอฉุ่น ก็ยืนขึ้น กล่าวถึง ภิกษุนั้นว่า ภิกษุที่เขียนจดหมาย
ถึงฉันนั้น ขอให้ก้าวออกมา ข้างหน้า จากหมู่ภิกษุ เหล่านั้นเถิด ถ้ารักฉันมากจริงๆ ก็จงมากอดฉัน ที่ตรงนี้ แล้วนิทาน ของเขาก็จบ



นี่ท่านลองคิดดูเองว่า นิทานเรื่องนี้ จะสอนว่ากระไร ก็หมายความว่า การสอน การอบรม ที่ตรงไปตรงมา ตามแบบของนิกายเซ็นนั้นกล้ามาก ทำให้คนเรากล้าหาญมาก และไม่มีความลับที่จะต้องปิดใคร จะว่าอย่างไรก็ได้ไม่ต้องปกปิด

คือสามารถที่จะเปิดเผยตนเองได้ มีสัจจะ มีความจริง โดยไม่ถือว่าความลับมีอยู่ในโลกนี้


เราจะต้องเป็น ผู้ที่ปฏิญญาตัว อย่างไรแล้ว จะต้องทำอย่างนั้น ไม่มีความลับที่ปกปิดไว้ จนสะดุ้งสะเทือน แม้ในการที่จะเรียกตัวเองว่า "ครู" อย่างนี้ เป็นต้น บางคนกระดาก หรือ ร้อนๆ หนาวๆ ที่ว่า จะถูกเรียกว่า ครู หรือ จะถูกขอร้องให้ยืนยันปฏิญญาความเป็นครู นี้แสดงว่า ไม่เปิดเผยเพียงพอ ยังไม่กล้าหาญเพียงพอ จะกล้าปฏิญญาว่า เป็นครู จนตลอดชีวิตหรือไม่ ยิ่งไม่กล้าใหญ่ใครกำลังจะ ลงเรือน้อย ข้ามฟาก ไปฟากอื่น ซึ่งไม่ใช่ นครของพวกครูบ้าง ก็ดูเหมือนไม่กล้าเปิดเผยเพราะเราไม่ชอบ ความกล้าหาญ และเปิดเผย กันอย่างสูงสุด เหมือน อย่างคน ในเรื่องนิทานนี้