User-agent: * Allow: / มาตรการหลากหลายวิธีของไคเซ็น

วันพฤหัสบดีที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

มาตรการหลากหลายวิธีของไคเซ็น

มาตรการหลากหลายวิธีของไคเซ็น




เรียบเรียงโดย บัญญัติ บุญญา สุรัส ตั้งไพฑูรย์
การคิดแบบอิสระและมีความยืดหยุ่นนั้นจะนำมาซึ่งมาตรการแก้ไขปีญหาที่มีความหลากหลาย แต่ทั้งนี้เรา ต้องไม่ลืมว่าในระหว่างการคิด เราอาจจะพบจุดตีบตัน คือ ไม่สามารถนำสิ่งที่คิดไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมได้ 
อันเนื่องมาจากข้อจำกัดทางด้านข้อเท็จจริงบางอย่าง การที่ผู้คิดต้องกลายมาอยู่ในสภาพ "หมดหวัง" หรือ "หยุดความ พยายาม" ในการแก้ไขปัญหาย่อมไม่ใช่สิ่งที่ดีทั้งสองกรณี
หรือแม้กระทั่งเมื่อได้มีการปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหา ไปแล้ว ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีความสมบูรณ์เสมอไป เพราะสิ่งทั้งหลายต่างมีแนวโน้มว่าจะเกิดมาจากปัจจัยหรือ ตัวแปรมากกว่าหนึ่งเสมอ ปัญหาหลายๆอย่าง ก็เช่นกัน มีผลมาจากสาเหตุหลายๆประการด้วยกัน มาตรการแก้ไข ปัญหาจึงต้องมีความหลากหลายตามสาเหตุเหล่านั้น

 "เราสามารถเข้าใจสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้เป็นอย่างดี ถ้าเราแยกแยะ ประเด็นย่อยๆออกมาได้" ในเรื่องของการแก้ปัญหา ก็เช่นกัน "เราจะรู้วิธีการแก้ไข้ปัญหาได้ดี ถ้าเราแยกแยะปัญหา เหล่านั้นออกเป็นประเด็นต่างๆที่ชัดเจน"
ด้วยเหตุนี้จึงขอแนะนำให้ใช้ 7 QC Tools ตัวใดตัวหนึ่ง เป็นต้นว่าการใช้ผัง ก้างปลา (Cause and Effect Diagram) เพื่อทำการวิเคราะห์ปัญหา เพราะเครื่องมือนี้จะทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนว่า 
เมื่อ ปัญหาเกิดขึ้นจากหลากหลายสาเหตุ ก็ต้องมีมาตรการแก้ไขไว้หลากหลายเช่นกันรวมทั้งยังมีผลดีในแง่ของการ เชื่อมโยงเข้ากับประเด็นที่เกี่ยวข้องซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายอีกด้วย

การปรับปรุงโดยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเรื่องของวิธีการ แนวทางการปฏิบัติหรือสภาพการณ์ต่างถือว่าเป็นการ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในองค์การ 

เมื่อเราต้องพิจารณาว่ามีตัวแปรหรือปัจจัยอะไรบ้างที่จำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลง ขอให้มองย้อนกลับไปที่เรื่องของ 4M ซึ่งในแผนผังก้างปลาจะหมายถึง Man (คน) Methods (วิธีการ) Material (วัสดุ) และ Machine (เครื่องจักร) 

โดยที่ปัจจัยหลายๆปัจจัยควรจะมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งก็รวมถึง

ตำแหน่ง ที่ตั้ง การติดตั้ง         —-                   ตัวแปรด้านพื้นที่
ลำดับ ขั้นตอนการทำงาน        —-                   ตัวแปรด้านเวลา
รูปร่าง สี                                   —-                 ตัวแปรด้านกายภาพ
ขนาด ความยาว ความกว้าง    —-                  ตัวแปรด้านขนาด
เร็วกว่า ช้ากว่า                         —-                ตัวแปรด้านความเร็ว
เพิ่มขึ้น ลดลง                            —-                 ตัวแปรด้านปริมาณ

แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่างจะเป็นสิ่งที่ดีเสมอไปเพราะในความเป็นจริงแล้ว มี อยู่บ้างที่ไม่ควรจะทำการเปลี่ยนแปลง และมีอยู่บ้างที่มีความเป็นไปได้ที่จะต้องเปลี่ยนแปลง

ด้วยเหตุนี้ การปรับปรุง จึงไม่ได้หมายความว่าให้เปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ไม่ควรจะเปลี่ยนแปลง หรือสิ่งที่ไม่สามารถจะเปลี่ยนแปลงได้ หรือสิ่ง ที่ไม่ได้สร้างผลลัพธ์ใดๆแม้ว่าจะได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วก็ตาม



แต่การปรับปรุงจะหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่ สามารถเปลี่ยนแปลงได้และต้องให้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงด้วย


การเปลี่ยนปัจจัยต่างๆที่สามารถกระทำได้ใน การหยุด หรือการลด เป็นสิ่งที่ให้ผลมากที่สุด อาจกล่าวอีก นัยหนึ่งได้ว่า 

การปรับปรุงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจะหมายถึง

                    หยุดการทำงานที่ไม่จำเป็นทั้งหลาย
                    หยุดการทำงานที่ไม่มีประโยชน์
                    หยุดการทำงานที่ไม่มีความสำคัญทั้งหลาย

แต่อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งบางอย่างในโลกนี้:ที่ไม่สามารถทำ,ให้ "หยุด" ได้ถ้าเช่นนั้นเราจะทำอย่างไรได้กับ กรณีดังกล่าว จุดนี้คงต้องมุ่งประเด็นไปที่เรื่องการลด ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีพลังเป็นที่สองรองลงมา 

จงพยายามที่ จะลดงานที่ไม่มีประโยชน์งานที่ก่อความรำคาญ น่าเบื่อหน่าย ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้แม้ว่าอาจจะไม่สามารถทำให้ หยุดได้ทั้งหมด แต่ก็ได้นำเข้าขั้นสู่การปรับปรุงแล้ว