User-agent: * Allow: / กำเนิดมหายาน

วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

กำเนิดมหายาน



บทความในบล็อคนี้นำมาจาก หนังสือ  คิดอย่างเซน เขียนโดยนันทมุนี ค่ะ

หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศศาสนาได้ 45 ปี ความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธก็เริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ

พระองค์เคยทรงตรัสไว้กับพระอานนท์ว่า หากเมื่อพระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้วนั้น พระธรรมวินัยที่กล่าวจะเป็นศาสดาของภิกษุทั้งหลาย

พระธรรมวินัยนี้เกิดจากการกระทำของบรรดาภิกษุสาวกที่กระทำแล้วถูกตำหนิ ด้วยเหตุผลของความไม่เหมาะสมต่อศรัทธาผู้พบเห็น แล้วนำความมากราบทูลพระองค์ ทรงรับไว้พิจารณาแล้วเรียกรพะภิกษุสาวกมาว่ากล่าวบ้าง โดยมากจะตรัสกับพระอานนท์ เพราะในทางโลกมีศักดิ์เป็นอนุชาของพระองค์



ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้เสร็จดับขันธ์ไปเพียง 4 เดือน พระอริยสาวกของพระองค์ได้ทำการประชุมสังคายนาพระธรรมตามคำสั่งสอนโดยจัดให้เป็นระเบียบวินัย ที่ถ้ำสัตบรรณคูหา เมืองราชคฤห์ โดยมีพระมหากัสสปะเถระเป็นประธาน มีพระอานนท์เป็นผู้บอกกล่าวตามที่ได้ทรงจำมาจากพระโอษฐ์ของพระพุทธเจ้า

พระมหากัสสปะเถระนี้ ท่านเป็นสุปฏิปันโนที่พระพุทธองค์ทรงมีความอนุเคราะห์ในธรรมมาก และยกย่องว่าเป็นเลิศทางด้านการปฏิบัติกรรมฐานในการอยู่ป่าโคนไม้เป็นวัตร

คราวหนึ่งที่ทรงตรัสเทศนาธรรมอยู่ในกาลนั้น พระพุทธองค์เทศนาไปได้ทอดพระเนตรเห็นท่านมหากัสสปะจึงทรงยกดอกบัวขึ้น 1 ดอก พระมหากัสสปะจึงเดินเข้าไปเฝ้าแล้วรับดอกบัวนั้น

พร้อมสังฆาฏิพาดพระอังสาของพระพุทธองค์ก็ทรงประทานให้พระมหากัสสปะ เนื่องจากของพระมหากัสสปะนั้นขาดมาก เกินกว่าที่จะนำมานุ่งห่มได้อีกต่อไป



สังฆาฏินี้ความจริงเหมือนกับจีวรอีกผืน เป็นผ้าสำรองไว้ึครองแทนจีวร หากว่าหายหรือว่าชำรุด หาใช่เป็นเครื่องประดับเพื่อความงดงามไม่ หลังจากสังคายนาเมื่อคราวนั้นเสร็จสิ้น พระภิกษุก็อยู่กันโดยระเบียบและพระธรรมวินัยตามดำรัสของพระพุทธองค์

หลังจากนั้นผ่านไปประมาณ 10 ปี ได้มีพระภิกษุคณะหนึ่งที่เรียกว่า "วัชชีบุตร" แห่งเมืองเวสาลี ก็เห็นพ้องกันว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานนัน้ทรงเคยตรัสเอาไว้ว่า ให้พระสาวกสามารถแก้ไขพระธรรมวินัยได้ตามกาละเทศะ

พระภิกษุคณะนี้จึงร่วมกันแก้ไขพระธรรมวินัยบางสิกขาบทบางประการขึ้น เช่น สามารถฉันภัตตาหารนอกเวลาเพลได้ หรือรับเงินสืบทอดจากอุบาสกอุบาสิกาได้ ในการแก้ไขครั้งนี้ มีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงต้องเกิดการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่2 ขึ้น


ด้วยเหตุที่เมื่อคราวพระพุทธองค์ทรงตรัสอนุญาตให้แก้ไขนั้น ไม่ได้ทรงตรัสว่าแก้ไขบทใดบ้าง และพระอานนท์ก็ไม่ได้ถามด้วยว่าทรงอนุญาตให้แก้บทไหนบ้าง จึงเกิดความลุมเครือในการนี้ขึ้น

การประชุมสังคายนาครั้งที่ 2 นี้ เมื่อเกิดความเห็นไม่พ้องกัน จึงแตกออกมาเป็น2ฝ่าย ทันใดนั้นเอง และนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นของพระพุทธศาสนา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 นิกายด้วยกัน


ที่มา:นันทมุนี.คิดอย่างเซน.สำนักพิมพ์ไพลิน:กรุงเทพ,2546..